ข่าวอัพเดต

NEWS UPDATES

ตุ๊กตาล้มลุก "โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi)" เครื่องรางนำโชคเสริมดวงของญี่ปุ่นที่ผ่านกาลเวลามาทุกยุคทุกสมัย

2024.12.19

เทศกาล-อีเวนท์

พื้นที่ไอสึ

หากพูดถึงเครื่องรางเสริมดวงของจังหวัดฟุกุชิมะ แล้วละก็ หลายๆ คนก็คงจะนึกถึงเจ้าวัวแดง "อะคะเบโกะ (Akabeko)" แต่สำหรับครั้งนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ "โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi)" เครื่องรางนำโชคที่คนญี่ปุ่นมักหามาบูชากันในช่วงปีใหม่ หากได้เดินทางมาเที่ยวยังจังหวัดฟุกุชิมะ อย่าพลาดซื้อหาของมูชิ้นนี้มาประดับเสริมโชคเสริมดวงกันดูนะ

โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) คืออะไร?

งานฝีมือแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi)

โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) เป็นงานฝีมือประติมากรรมจากกระดาษ หรือเปเปอร์มาเช่ ถูกนำมาขายเป็นเครื่องรางนำโชคที่ "ตลาดแรก" (ตลาดที่เปิดขายแห่งแรกหลังปีใหม่) ในเมืองโทไคจิ (Tokaichi) ในเมืองไอซุวาคะมัตสึ (Aizuwakamatsu) จังหวัดฟุกุชิมะ (Fukushima) โดยจะวางจำหน่ายในวันที่ 10 มกราคมของทุกปี

โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) เป็นงานฝีมือแบบดั้งเดิมของไอซุที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 400 ปี ว่ากันว่าเริ่มต้นขึ้นในสมัยเอโดะตอนต้น เมื่อเจ้าเมืองแห่งแคว้นไอซุเกิดความคิดอยากให้ซามูไรทำงานเสริมในช่วงฤดูหนาว และนำขายไปในช่วงปีใหม่ เจ้าตุ๊กตานี้จึงกลายเป็นเครื่องรางแห่งความโชคดีมาตั้งแต่สมัยโบราณ และด้วยเวลาที่เจ้าตุ๊กตานี้กำลังจะล้ม แต่ก็ลุกกลับขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว มันจึงถูกเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า "ล้มเจ็ดครั้ง ลุกแปดครั้ง"

ตุ๊กตาล้มลุกขนาดจิ๋วสุดน่ารัก
ตุ๊กตาล้มลุกขนาดจิ๋วสุดน่ารัก

คำว่า "โคโบชิ (小法師-Koboshi)" ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีความหมายว่า "เณรน้อย" ซึ่งสื่อถึงเด็ก ขนาดของมันจึงต้องไม่ใหญ่มาก ขนาดทั่วไปจึงอยู่ที่ประมาณ 3 เซนติเมตรเท่านั้น หัวจะต้องแหลม หน้าตาถูกวาดเป็นเส้นบางๆ ที่แฝงความน่ารักและเรียบง่าย

นอกจากนี้ เจ้าตุ๊กตาลุ้มลุก โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) เดียวกันนี้ยังมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า "โอคิฮิเมะ (起き姫-Okihime)" หรือเจ้าหญิงที่พึ่งตื่น เนื่องจากในภูมิภาคโทโฮคุนั้นในอดีตอาชีพการเลี้ยงไหมทอผ้าได้รับความนิยม การฝักตัวจากดักแด้ของหนอนไหมนั้นชาวบ้านจะเรียกกันว่า "โอคิรุ (起きる-Okiru)" ที่แปลว่าการตื่นขึ้นมานั่นเอง "โอคิฮิเมะ (起き姫-Okihime)" จึงกลายเป็นเครื่องรางของการเลี้ยงหนอนไหม ผู้คนมักจะสวดมนต์หาให้ได้ผลผลิตรังไหมจำนวนมาก และมีคุณภาพดี

ความลับของรูปร่างและสี

ตุ๊กตาโอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) หลากสี

ปัจจุบันการออกแบบทำให้ตุ๊กตาโอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) มีสีที่หลากหลายมากขึ้น แต่ในอดีตสีที่รับการยอมรับอย่างกว้างขวางก็คือตุ๊กตาที่สวมชุดสีแดงบนพื้นสีขาว

ว่ากันว่า สาเหตุที่ชุดของโอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) มีสีแดงนั้นมาจาก ความเชื่อที่ว่า สีแดงเป็นสีแห่งความโชคดี และสีแดงยังเป็นสีของเครื่องแต่งกายของนักบวชที่มียศสูงที่สุด

นอกจากนี้ ความลับของตุ๊กตาล้มลุกที่ทำให้มันลุกกลับมาได้อย่างรวดเร็วนั้นอยู่ที่ขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน เริ่มจากการปะติดกระดาษวาชิลงบนแม่พิมพ์ไม้ของตุ๊กตา 2 ตัวที่ก้นด้านล่างเชื่อมติดกัน จากนั้นรอจนกระดาษแห้งแล้วจึงผ่าตุ๊กตาออกจากกัน แล้วนำออกจากแม่พิมพ์

"ไอสึ ซัง เอ็นกิ (Aizu San Engi)" 3 เครื่องรางมงคลของไอสึ

เมืองโทไคจิ (Tokaichi) เนืองแน่นไปด้วยผู้คน

ตลาดแรกที่มีการวางจำหน่ายตุ๊กตาลุ้มลุก โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) ในเมืองไอสึวากามัตสึ (Aizuwakamatsu) ที่เรียกว่า "โทไคจิ (Tokaichi)" นั้นจะมีการจัดงานขึ้นในวันที่ 10 มกราคม เป็นประจำทุกปี และไม่ได้มีเพียง โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi) เท่านั้นแต่ยังมีเครื่องรางนำโชค กังหันลม "คะซะกุรุมะ (Kazaguruma)" และ ขลุ่ยไม้ไผ่ "ฮัตสึเนะ (Hatsune)" เครื่องรางนำโชคทั้งสามชิ้นนี้ถูกเรียกรวมกันว่า "ไอสึ ซัง เอ็นกิ (Aizu San Engi)" หรือ 3 เครื่องรางมงคลของไอสึ

นับตั้งแต่อดีตเรื่อยมาจนปัจจุบัน คนญี่ปุ่นหลายคนยังคงนิยมซื้อ  "ไอสึ ซัง เอ็นกิ (Aizu San Engi)" ในช่วงปีใหม่ และตั้งไว้บนแท่นบูชาประจำบ้านเพื่อขอพรให้ช่วยคุ้มครองให้ปลอดภัยไปตลอดทั้งปี

กังหันลม "คะซะกุรุมะ (Kazaguruma) นั้นแตกต่างไปจากกังหันลมทั่วไป  โดยทำจากไม้ไผ่ที่เหลาบางๆ 8 ท่อน ที่ติดกระดาษไว้ที่ปลายไม้ไผ่ จากนำไปประกอบติดกับด้ามกังหันลม และยึดเอาไว้ด้วยเม็ดถั่ว ว่ากันว่ารูปทรงของกังหันลมนี้มีคำอธิษฐานว่า "ขอให้คุณทำงานได้อย่างขยันขันแข็ง 
ขลุ่ยไม้ไผ่ "ฮัตสึเนะ (Hatsune)"  เป็นขลุ่ยขนาดเล็กที่ทำจากไม้ไผ่ทรงกลมและมีปากเป่าที่ติดอยู่ เมื่อเป่าออกมาเสียงจะคล้ายกับนกกระจิบญี่ปุ่น อีกหนึ่งสัญลักษณ์การมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ จึงถือเป็นหนึ่งในเครื่องรางนำโชคด้วยเช่นกัน หลังจากที่นำออกจากแท่นบูชาในช่วงปีใหม่แล้ว มักกลายเป็นของเล่นของเด็กๆ

วิธีการเลือกซื้อ และวิธีการประดับตกแต่งตุ๊กตา โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi)

การเลือกซื้อตุ๊กตา โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi)

ธรรมเนียมมีอยู่ว่าต้องไปซื้อตุ๊กตา โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi)  ในวันที่ 10 มกราคมที่ตลาดโทไคจิ (Tokaiji) ของทุกปี และควรซื้อมากกว่าจำนวนสามชิกในครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้ครอบครัวมั่งคั่งร่ำรวย และตระกูลเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า

นอกจากตลาดโทไคจิ (Tokaichi) ก็ยังสามารถหาซื้อตุ๊กตาล้มลุกได้จากตลาดของเมืองอื่นๆ ด้วย เช่น เมืองทาคาดะ (Takada), เมืองคิตะคาตะ (Kitakata), เมืองอินาวะชิโระ (Inawashiro), เมืองซากะชิตะ (Sakashita) และเมืองชิโอะคาวะ (Shiolkawa) เป็นต้น

โดยทั่วไปมักจะเอาไว้ประดับบนแท่นบูชาชินโต หรือหากไม่มีแท่นก็สามารถวางประดับในห้องนั่งเล่นได้ แต่หลังจากตั้งเป็นเครื่องรางได้ครบปีแล้ว เมื่อถึงปีใหม่ควรหาอันใหม่มาวางทดแทน

ตลาดแรกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคไอสึที่เปิดมานานกว่า 400 ปี!

ตลาดแรกโทไคจิ (Tokaichi) จัดขึ้นปีละครั้ง

เนื่องจากเป็นตลาดแรกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคไอสึ (Aizu) งานดังกล่าวจึงเปรียบเสมือนกับงานประเพณีที่ดำเนินมายาวนานกว่า 400 ปี มีร้านค้าประมาณ 400 แห่ง และหน้าร้านจัดแสดงสินค้าหลากหลาย เช่น เครื่องรางนำโชค เช่น ตุ๊กตาลุ้มลุก โอคิอาการิ โคโบชิ (Okiagari-koboshi),  กังหันลม "คะซะกุรุมะ (Kazaguruma)" และลูกอม "ฮัตสึอาเมะ (Hatsuame)'' หรือจะเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันอื่น เช่น เครื่องเขิน และอาหารและเครื่องดื่มก็มีด้วยเช่นกัน ในแต่ละปีมีผู้เดินทางมายังตลาดแห่งนี้ราว 1.5 แสนคน

จังหวัดฟุกุชิมะมีงานเทศกาลตลอดทั้งปี ดูรายละเอียดได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้ ↓

https://welovefukushima.com/wp-content/uploads/Festival_2021_additional_rev.pdf

ข่าวอัพเดตล่าสุด

Latest News